ปฏิโลกาภิวัตน์ (Anti-globalization หรือ mundialism) ของ โลกาภิวัตน์

ปฏิโลกาภิวัตน์ หรือ การต่อต้านโลกาภิวัตน์ (Anti-globalization) เป็นคำปฏิเสธที่ใช้กับท่าทีทางการเมืองของบุคคลและกลุ่มที่ต่อต้านเสรีนิยมแนวใหม่ ( neoliberal) ในนามของโลกาภิวัตน์

“ปฏิโลกาภิวัตน์” อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการ หรือ การกระทำของรัฐเพื่อแสดงให้เห็นอำนาจอธิปไตย หรือ รัฐาธิปไตยและการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยของตน ปฏิโลกาภิวัตน์ อาจเกิดขึ้นเพื่อหยุดการไหลถ่ายเทของประชากรในระดับนานชาติ สินค้า และอุดมการณ์ โดยเฉพาะที่กำหนดโดยองค์การเช่น IMF หรือ WTO ที่จะออกมาตรการลัทธิการค้าเสรีมาทะลายกฎเกณฑ์เดิมของรัฐบาลของประเทศต่างๆ และประชากร นอกจากนี้ ดังที่นักหนังสือพิมพ์แคนาดาชื่อนาโอมิ ไคลน์ อ้างเหตุผลในหนังสือของเธอชื่อ “ไม่มีตรา: เล็งไปที่ยี่ห้อ” (No Logo: Taking Aim at the Brand Bullies) ซึ่งมีหัวเรื่องย่อยว่า “ไม่มีที่ ไม่มีทางเลือก ไม่มีงาน” นักปฏิโลกาภิวัตน์อาจนำมาใช้เพื่อให้เห็นทั้งขบวนการสังคมโดดๆ หรือเป็นคำที่ครอบคลุมรวมขบวนการสังคมที่แยกกันอยู่เป็นจำนวนมาก [21] เช่น ชาตินิยมและสังคมนิยม ทั้งสองกรณีผู้เข้าร่วมยืนอยู่ในตำแหน่งของฝ่ายอำนาจการเมืองที่ไม่มีการกำกับดูแล บรรษัทข้ามชาติที่ใหญ่ ในขณะที่บรรษัทใหญ่ เหล่านั้นใช้อำนาจผ่านข้อตกลงทางการค้าที่สร้างความเสียหายแก่สิทธิ์ประชาธิปไตยบางแง่ของพลเมือง สร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะดัชนีคุณภาพอากาศและป่าฝนเขตร้อน รวมทั้งรัฐาธิปัตย์ของรัฐบาลในการให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งสิทธิ์ในการตั้งสหภาพเพื่อเรียกร้องค่าจ้างให้สูงขึ้นและสภาพการทำงานที่ดีขึ้น หรือกฎหมายที่อาจทำความเสียหายกับจประเพณีของประเทศกำลังพัฒนา

ฝ่ายที่ถูกตราว่าเป็นพวกปฏิโลกาภิวัตน์มองคำที่ใช้เรียกตนว่าคลุมเครือและคลาดเคลื่อน [22][23] โพโดนิก (Podobnik) กล่าวว่า “กลุ่มที่เข้าร่วมประท้วงส่วนใหญ่ ดึงโครงข่ายนานาชาติมาช่วยสนับสนุน และพวกเหล่านั้นเรียกร้องหารูปแบบของโลกาภิวัตน์ที่เกื้อหนุนเป็นตัวแทนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสมภาคนิยม" (egalitarianism)

สไตกลิตส์ โจเซฟและแอนดรู ชาร์ลตัน [24] เขียนไว้ว่า:

ขบวนการปฏิโลกาภิวัตน์ก่อตัวขึ้นเพื่อต่อต้านแง่ลบของโลกาภิวัตน์ คำว่า “ปฏิโลกาภิวัตน์” เป็นคำที่ไม่ตรงเนื่องจากกลุ่มเป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่กว้าง แทนประเด็นและผู้คนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่สนับสนุนความเกี่ยวพันที่ใกล้ชิดระหว่างผู้คนและวัฒนธรรมที่หลากหลายในโลก ผ่านการเงินช่วยเหลือ การช่วยเหลือผู้อพยพ และประเด็นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมของโลก

สมาชิกที่อยู่ข้างแนวคิดนี้ชอบให้เรียกพวกตนว่าเป็นพวก “ขบวนการโลกยุติธรรม” (Global Justice Movement) “ขบวนการต่อต้านบรรษัท-โลกาภิวัตน์” บ้าง “กระบวนการแห่งกระบวนการ” (อิตาลี) บ้าง รวมทั้งขบวนการ “หลังโลกาภิวัตน์”( Alter-globalization) และชื่ออื่นๆ อีกมาก

มีนักวิจารณ์วิจารณ์ช่วงกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ที่มองว่าเป็นการทำความเสียหายแก่ดาวเคราะห์โลกในแง่ของการสร้างอันตรายที่เกิดจากความไม่ยั้งยืน รวมทั้งยังมองว่าเป็นการทำความเสียหายแก่มนุษย์ เช่นการเพิ่มความยากจน สร้างความไม่เท่าเทียม เพิ่มการสมรสกับคนต่างผิว ความอยุติธรรมและการผุกร่อนของวัฒนธรรม นักวิจารณ์ยืนยันว่าทั้งหมดเกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจที่สืบเนื่องจากโลกาภิวัตน์ พวกเขาท้าทายตัวเลข เช่น GDP ที่ใช้ชี้วัดความก้าวหน้าที่บังคับใช้โดยสถาบันเช่น ธนาคารโลก โดยให้มองมาตรการอื่นด้วย เช่น “ดัชนีความสุขของโลก" ( Happy Planet Index)[25] ที่จัดทำโดย “มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่” (New Economics Foundation)[26]. ที่ชี้ให้เห็น “ความมากมายของผลกระทบที่อาจทำให้สังคมแตกสลาย การล่มของประชาธิปไตย การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในอัตราที่รวดเร็ว การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อโรค ความยากไร้และการลดคุณค่าของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น” [27] ซึ่งนักวิจารณ์กล่าวว่าข้ออ้างนี้ไม่ใช้เป็นการเจตนา แต่เป็นตามมาที่แท้จริงของโลกาภิวัตน์

เหตุผลที่นักวิจารณ์อ้าง:

    • ประเทศยากจนบางครั้งเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเป็นความจริงในขณะที่โลกาภิวัตน์สนับสนุนการค้าเสรีในประเทศต่างๆ ในระดับนานาชาติ ก็ยังมีผลต่อเนื่องทางลบเนื่องจากบางประเทศพยายามที่จะรักษาตลาดของตนเอง สินค้าส่งออกของประเทศยากจนส่วนใหญ่คือสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นการยากมากที่จะสู้กับประเทศที่แข็งแรงกว่าที่ให้เงินอุดหนุนเกษตรของตน เนื่องจากเกษตรกรในประเทศยากจนไม่สามารถแข่งขันได้ จึงพากันขายผลผลิตในราคาต่ำกว่าที่ตลาดควรจ่าย [28]
    • การเอาเปรียบคนงานต่างชาติที่ยากไร้:
    • การเอารัดเอาเปรียบ ผู้ใช้แรงงานต่างด้าว: ความเสื่อมโทรมในการปกป้องประเทศอ่อนแอโดยประเทศที่เข้มแข็งทางอุตสาหกรรมเป็นจากการเอารัดเอาเปรียบผู้คนที่แรงงานในประเทศของตนอยู่ในอัตราต่ำ เนื่องจากการขาดมาตรการปกป้อง บรรษัทจากชาติอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งสามารถให้ค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับการทำงานที่มีชั่วโมงยาวนานในสภาพงานที่ไม่ปลอดภัย แรงงานราคาถูกที่มีจำนวนเหลือเฟือทำให้ประเทศที่แข็งแรงไม่ให้สัตยาบันเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคระหว่างชาติ หากชาติเหล่านี้ได้พัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว แรงงานราคาถูกเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปพร้อมกับระดับการพัฒนา ขณะที่โลกกำลังอยู่ในขั้นตอนนี้ จึงยากที่คนจนที่ถูกเอาเปรียบจะหนีความยากจนไปได้ เป็นความจริงที่ว่าคนงานสามารถออกจากงานได้อย่างเสรี แต่ในประเทศที่ยากจนกว่าย่อมหมายถึงการอดตายซึ่งอาจโยงถึงครอบครัวด้วย [29]
    • การเคลื่อนย้ายสู่งานภาคบริการ ค่าแรงงานที่ถูกในประเทศโพ้นทะเลชักนำให้หน่วยการผลิตของบริษัทย้ายไปตั้งในต่างประเทศ คนงานไร้ฝีมือที่ถูกปลดออกจากงาน จึงถูกบังคับโดยปริยายให้ไปทำงานในภาคบริการซึ่งมีค่าจ้างไม่สูงและถูกให้ออกจากงานได้ง่ายกว่า ปรากฏการณ์นี้ทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างคนงานฝีมือและคนงานไร้ฝีมือถ่างห่างออกจากกันมากขึ้น ในสหรัฐฯ การถูกออกจากงานลักษณะนี้ยังทำให้อัตราการเพิ่มคนชั้นกลางค่อยๆ ลดลงทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจห่างกันมากขึ้น ครอบครัวซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนของชนชั้นกลางถูกกดดันให้เข้าสู่ตำแหน่งที่ต่ำลงที่เนื่องมาจากการปลดคนงานครั้งละมากๆ เพื่อหันไปใช้ บริการนอกประเทศ (outsourcing) ซึ่งถูกกว่า ซึ่งหมายความว่าคนที่อยู่ในระดับล่างจะมีความยากลำบากมากในการกระเสือกกระสนให้พ้นความยากจนเพราะคนชั้นกลางที่เคยเป็นบันไดให้ไต่ขึ้นได้หายไป [30]
    • ความอ่อนแอของสหภาพแรงงาน: แรงงานราคาถูกที่มีเหลือมากร่วมกับการเพิ่มจำนวนของบริษัททำให้สหภาพแรงงานในสหรัฐฯ อ่อนแอลง สหภาพสูญเสียความเข้มแข็งเมื่อจำนวนคนงานลดลง สหภาพจึงมีอำนาจน้อยกว่าบริษัททำให้บริษัทเปลี่ยนคนงานได้ง่าย เพื่อจ้างแรงงานที่จ้างได้ถูกกว่าที่สัญญาว่าจะไม่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพ [31]

เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกชื่อ แบรนโค มิลาโนวิก ได้ยกเอางานวิจัยเชิงประจักษ์ที่ว่าด้วยความยากจนและความไม่เท่าเทียมของโลกที่ตีพิมพ์มานานแล้วขึ้นมาเป็นคำถาม เนื่องจากมิลาโนวิกเองเห็นว่าการประมาณกำลังซื้อเสมอภาคที่ปรับตัวเลขใหม่บ่งชี้ว่าประเทศกำลังพัฒนายิ่งลงมากกว่าที่เคยคิดกันไว้ และให้ข้อสังเกตว่า “ความจริงแล้วบทความวิชาการนับร้อยเรื่องว่าด้วยการลู่เข้าและการเบนออกของรายได้ประเทศได้ที่ตีพิมพ์ในช่วงทศวรรษก่อนใช้พื้นฐานที่เราทราบกันแล้วในขณะนี้เต็มไปด้วยตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลใหม่ นักเศรษฐศาสตร์จะปรับปรุงแก้ไขตัวเลขใหม่และอาจได้ข้อสรุปที่ถูกต้องกว่าเดิม” นอกจากนี้มิลาโนวิกยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า “การบ่งชี้โดยนัยสำหรับการประมาณความไม่เท่าเทียมของโลกและความยากจนมีมากเหลือคณา ตัวเลขใหม่แสดงให้เห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของโลกมีมากกว่าเคยคาดการณ์แบบมองโลกแง่ร้ายของผู้เขียนบทความก่อนๆ นั้นเป็นอันมาก จนกระทั่งเมื่อเดือนที่แล้ว ความไม่เท่าเทียมของโลก หรือความแตกต่างในรายได้จริงระหว่างบุคคลในโลก ได้รับการประมาณว่าเท่ากับ 65 จุดกินี (Gini points) ด้วยตัวเลขแสดง 100 เท่ากับการไม่มีความเท่าเทียมกันเลยแม้แต่น้อย และ 0 เท่ากับความเท่าเทียมเท่ากัน โดยถือว่ารายได้ของทุกคนเท่ากัน ระดับของความไม่เท่าเทียมระดับของความไม่เท่าเทียมดูเหมือนจะสูงกว่าแอฟริกาใต้ แต่ตัวเลขใหม่แสดงให้เห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของโลกเท่ากับ 70 จุดกินี เป็นระดับที่ไม่เคยมีการบันทึกไว้ที่ใดมาก่อน” [32]

นักวิจารณ์โลกาภิวัตน์จะเน้นแบบทั่วไปว่า โลกาภิวัตน์คือกระบวนการที่เป็นการปรองดองกับผลประโยชน์ของบรรษัท และมักเลือกเอาทางเลือกที่เป็นไปได้ตามนโยบายของสถาบันโลกาภิวัตน์ต่างๆ ในโลกซึ่งตนเชื่อว่าเป็นการแสดงออกทางศีลธรรมกับคนจนและชนชั้นแรงงานทั่วโลก รวมทั้งความห่วงใยในสิ่งแวดล้อมในทางที่เท่าเทียมกัน [33]

ขบวนการเป็นไปในลักษณะที่กว้างมาก รวมทั้งกลุ่มศาสนา กลุ่มเสรีนิยมของชาติ ชาวไร่ชาวนา พวกสหภาพ ปัญญาชน ศิลปิน นักลัทธิปกป้อง นักอนาธิปไตย พวกสนับสนุนการเคลื่อนย้ายและอื่นๆ บางกลุ่มเป็นนักปฏิรูป (โดยให้เหตุผลว่าเป็นลัทธิทุนนิยมที่มีความเป็นมนุษย์มากกว่า) ในขณะที่กลุ่มอื่นเอนไปทางพวกปฏิวัติมากกว่า (โดยให้เหตุผลว่าสิ่งที่ตนเชื่อเป็นระบบมนุษยธรรมมากกว่าระบบทุนนิยม) อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพวกปฏิกิริยา ที่เชื่อว่าโลกาภิวัตน์เป็นตัวทำลายอุตสาหกรรมและการจ้างานของประเทศ

จุดสำคัญที่นักวิจารณ์เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เมื่อเร็วๆ นี้ได้แก่รายได้ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างประเทศ และภายในประเทศซึ่งกำลังเพิ่มมากขึ้นจากกระบวนการนี้ บทความวิชาการบทหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2543 พบประเด็นที่สำคัญว่า 7 ใน 8 ของชาติที่มีความไม่เท่าเทียมของรายได้เพิ่มมาเป็นเวลา 20 ปีนับถึงปี พ.ศ. 2543 และ “รายได้ที่ต่ำในระบบนับสิบของการกระจายรายได้ของโลกอาจตกลงมาโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523 -2533” และนอกจากนี้ ตัวเลขความจนสัมบูรณ์ของธนาคารโลกยังเป็นที่น่าท้าทายความถูกต้องอีกด้วย บทความแสดงความน่าสงสัยการอ้างของธนาคารโลกที่ว่าตัวเลขของจำนวนคนที่ดำรงชีวิตด้วยรายได้ที่ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีความคงที่ที่ 1.2 พันล้านคนจาก พ.ศ. 2530พ.ศ. 2541 เนื่อจากกรรมวิธีที่มีความลำเอียง [34]

แผนภูมิที่ให้ภาพของความไม่เท่าเทียมได้ชัดเจนและให้ความเข้าใจได้ดี ที่เรียกว่าปรากฏการณ์ “แก้วแชมเปญ” [35] ปรากฏในรายงานโปรแกรมการพัฒนาของสหประชาชาติปี พ.ศ. 2535 ซึ่งแสดงให้เห็นการกระจายรายได้ของโลกที่ไม่สม่ำเสมอมากๆ โดยพวกร่ำรวยที่สุดซึ่งมีจำนวนร้อยละ 20 ของประชากรโลกเป็นพวกที่ควบคุมรายได้ร้อยละ 82.7 ของโลกทั้งหมด [36]

+ การกระจาย GDP ของโลก พ.ศ. 2532
ความถี่ของประชากรรายได้
รวยสุด 20%82.7%
รวยถัดมา 20%11.7%
รวย 20% ที่สาม2.3%
รวย 20% ที่สี่1.4%
จนสุด 20%1.2%

ที่มา: United Nations Development Program. 1992 Human Development Report[37]

เหตุผลที่ยกมาโดยนักทฤษฎีการค้าเสรีอ้างว่าการไม่ควบคุมการค้าเสรีมีผลดีต่อพวกที่การเงินมีระดับคงที่ (financial leverage) เช่น พวกร่ำรวยด้วยการสละของคนจน [38]

การซึมซับเป็นอเมริกัน (Americanization) สัมพันธ์กับช่วงที่สหรัฐอเมริกามีพลังทางการเมืองสูงและมีการเจริญเติบโตของร้านค้า ห้าง ตลาดอเมริกันและสิ่งต่างๆ ที่ประเทศต่างๆ นำเข้า ดังนั้น โลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่หลากหลายมากนี้จึงสัมพันธ์กับการเมืองของโลกเชิงพหุภาคี และการเพิ่มสิ่งของ ตลาดและอื่นๆ ในระหว่างประเทศด้วยกัน

ฝ่ายตรงข้ามกับโลกาภิวัตน์บางคนมองปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นการส่งเสริมให้ประโยชน์แก่พวกบรรษัทนิยม (corporatist) [39] พวกนี้ยังอ้างด้วยว่าการเพิ่มความเป็นอิสระในการบริหารตนเองที่มากขึ้นแก่บรรษัท ทำให้บรรษัทเข้ามามีอิทธิพลในนโยบายของรัฐบาลมากขึ้นด้วย [40] [41]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โลกาภิวัตน์ http://www.caei.com.ar/en/home.htm http://www.forumsocialmundial.org.br/index.php?cd_... http://www3.fis.utoronto.ca/research/iprp/c3n/CI/D... http://convention.allacademic.com/asa2003/view_pap... http://www.gavinkitching.com/africa_3.htm http://www.nytimes.com/2007/01/25/business/25scene... http://www.oxfordleadership.com/DataFiles/homePage... http://www.pastor-russell.com/legacy/giants.html http://reason.com/news/show/34961.html http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR...